วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ควรรู้! "ฉลาก" ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง


       อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงหลายคนไม่ควร ชะล่าใจในการเลือกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นก็คือ การอ่านฉลาก ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อย่างละเอียดนั่นเองค่ะ วันนี้เราจึงนำเทคนิคการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมาให้ทำความเข้าใจกันก่อนล่วงหน้าค่ะ


"ฉลาก" ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ปกติฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผ่านการควบคุมจาก อย.แล้วจะต้องระบุข้อความเหล่านี้เป็นภาษาไทยไว้บนฉลาก ได้แก่

- ชื่อเครื่องสำอางและ / หรือชื่อทางการค้า

- ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง

- ชื่อส่วนประกอบที่สำคัญ

- ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ถ้านำเข้าจะต้องแสดงชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิตด้วย

- วัน เดือน ปีที่ผลิต เช่น Manufactured ตามด้วยตัวเลขบอก วัน เดือน ปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุ เช่น Best Before หรือ Used Before ตามด้วยวัน เดือน ปีที่หมดอายุไว้ด้วย

- วิธีใช้และคำเตือน

- ปริมาณสุทธิ


ฉลากผลิตภัณฑ์



สัญลักษณ์บอกอะไร

สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายถึง บรรจุภัณฑ์ชิ้นนี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ช่วยลดโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

สัญลักษณ์หนังสือ หรือหนังสือพร้อมมีมือชี้ หมายถึง ผู้ใช้ควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนใช้ เพราะอาจมีคำเตือนหรือข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์ระบุอยู่ที่ฉลาก

สัญลักษณ์กระป๋องเปิด แล้วมีตัวเลขกำกับไว้ตามด้วย M (Month) หมายถึง ผลิตภัณฑ์นี้มีอายุเท่าไร (ระบุเป็นจำนวนเดือน) นับตั้งแต่เปิดให้เนื้อผลิตภัณฑ์สัมผัสอากาศ เช่น มาสคาราจะเริ่มนับเวลาตั้งแต่การดึงก้านมาสคาราออกมาครั้งแรก หรือผลิตภัณฑ์หัวปั๊มก็นับตั้งแต่ทำการกดครั้งแรก

To Know คำศัพท์ที่พบบ่อยในผลิตภัณฑ์เสริมความงามทั้งหลาย

Antioxidant = สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปกป้องและลบเลือนริ้วรอย

Non - Comedogenic = ไม่มีส่วนผสมที่ทำให้รูขุมขนอุดตันอันเป็นสาเหตุของสิว

Clinically Proven = ผ่านการทดสอบจากคลินิกของเครื่องสำอางยี่ห้อนั้นๆ แล้ว

Dermatologist - Tested = ผ่านการทดสอบจากแพทย์ผิวหนังแล้ว

Hypo - Allergenic = มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย

Retinol A = ส่วนผสมที่ช่วยลบเลือนริ้วรอย ร่องลึก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สุดสัปดาห์ ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
และ http://www.n3k.in.th/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%87

กล้วยทอดโมเลน Pisang Molen...(กล้วยทอดอินโดนีเซีย ^_^ )

Pisang Molen...กล้วยทอดอินโดนีเซีย กรอบนอก นุ่มใน อร่อยง่ายๆสำหรับคนชอบกินกล้วย


กล้วยทอดโมเลน

* กล้วยเล็บมือนาง (ใช้กล้วยชนิดอื่นแล้วมาตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆได้ค่ะ หนึ่งใช้กล้วยเล็บมือนาง ขนาดกำลังดี ทอดแล้วอร่อยด้วยค่ะ)

* แป้งสาลีอเนกประสงค์ 360 กรัม

* น้ำตาล 50 กรัม

* วานิลา extract 1 ชช (หนึ่งใช้วานิลาผง)

* เกลือ 1/2 ช้อนชา

* มาการีน 125 กรัม

* น้ำเปล่า 150 ml (ใช้ไม่หมดค่ะ ใช้ประมาณครึ่งเดียว)


วิธีทำ

1. แป้ง น้ำตาล เกลือ ผงวานิลา ใส่โถคนให้เข้ากันใส่มาการีนลงไปนวดๆ จนส่วนผสมเข้ากัน จะได้แป้งเป็นเม็ดๆ


2. ค่อยๆเต็มน้ำลงไปแล้วนวดๆ อย่าเติมครั้งเดียวพรวดนะคะ เพราะสูตรที่ให้มาเหมือนน้ำจะเกิน พอได้แป้งที่นุ่มๆหยุ่นๆรีดแล้วเป็นอันใช้ได้


นวดให้ได้แป้งประมาณนี้ จะนุ่มๆ รีดเป็นแผ่นได้ นวดไม่นานค่ะ




3. น้ำมันตั้งไฟปานกลาง รอให้ร้อนๆ ปริมาณน้ำมันกะให้ท่วมกล้วที่จะทอด หนึ่งทอดในหม้อค่ะ

4. ขณะรอน้ำมันร้อน นำแป้งมารีดให้เป็นแผ่นยาว ตอนที่ทำกะความยาวเท่าเขียงที่รองค่ะ ไม่ได้วัเลย แต่พยายามให้ยาวไว้เพราะเราจะเอามาพันกล้วย ความบางแล้วแต่ชอบค่ะ สูตรนี้แป้งกรอบอร่อย  จากนั้น กรีดแป้งที่รีดไว้กว้างประมาณ 3-4 cm 




แล้วเอาไปพันกล้วยที่ปอกเปลือกแล้ว เวลาพันพยายามให้แป้งพันรอบเนื้อกล้วยให้มิดนะคะ อย่าให้เนื้อกล้วยโผล่ เพื่อความสวยงาม ทำจนแป้งหมด หนึ่งได้กล้วย 9-10 ชิ้น




5. ทอดได้เลยค่ะ ทอดไม่นานก็สุกแล้ว ตักขึ้นมาำพักไว้ รอให้เย็น





แอบชิมตอนยังร้อนอยู่ ร้อนมากกกกก เกือบลวกลิ้นเลยค่ะ



ได้เวลาเสิร์ฟ จะกินเลย หนึ่งชอบกินแบบเพลนๆ อร่อยๆ แต่ราดไอซิ่ง หรือช๊อกโกแลต syrup ก็อร่อยค่ะ ดูไฮโซขึ้นมาทันตาเห็น


อร่อยค่ะ แป้งกรอบมากๆ ทั้งไว้หลายชั่วโมงยังกรอบอยู่เลย หนึ่งทิ้งไว้ทั้งวันยังอร่อย ยังกรอบอยู่ แต่น้อยกว่าหลังทอดเสร็จใหม่ๆ








ลองทำดูนะคะ อร่อยง่ายๆค่ะ :)


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก






ไม้แขวนเสื้ออันเก่า อย่าเพิ่งทิ้ง... :)

ไม้แขวนเสื้ออันเก่า นำกลับมาใช้ใหม่ น่ารักกว่าเดิม :-)

รูป 1 ไม้แขวนเสื้ออันเก่า นำกลับมาใช้ใหม่ น่ารักกว่าเดิม

ไม้แขวนเสื้ออันเก่า อย่าเพิ่งทิ้งนะ นำกลับมาตกแต่งให้สวย น่าใช้

สำหรับคนรักความสะอาด เบื่อกับไม้แขวนเสื้ออันเก่าที่ผุพัง อยากเปลี่ยน แต่จะซื้อให้เสียเงิน ทำไมหล่ะคะ นำกลับมาตกแต่งใหม่ ให้น่าใช้กันดีกว่าค่ะ

รูป 2 ไม้แขวนเสื้ออันเก่า นำกลับมาใช้ใหม่ น่ารักกว่าเดิม

อุปกรณ์

  • ไม้แขวนเสื้อเก่า
  • เศษผ้า หรือจะใช้ผ้าสวยๆก็ได้ ตามชอบค่ะ
  • กรรไกร
  • กาว

วิธีทำ

  1. นำไม้แขวนเสื้ออันเก่า มาทำความสะอาด (จะเก่าแค่ไหนก็ได้ค่ะ ขอแต่ว่ายังรูปร่างเป็นไม้แขวน แล้วยังแขวนได้อยู่ ไม่ใช่ว่า เอาเสื้อไปแขวน แล้วร่วง ไม้แขวนหักทันที แบบนั้นก็ทิ้งไปเถอะค่ะ อย่าเสียดายเลย)
  2. นำเศษผ้า หรือ ผ้าจากเสื้อตัวเก่า เสื้อขาด ที่ไม่ใช้แล้ว มาตัดเป็นชิ้นๆ ขนาดพอประมาณ เตรียมไว้ค่ะ
  3. นำไม้แขวนที่ทำความสะอาดเสร็จแล้ว มาหุ้มด้วยเศษผ้าที่เตรียมไว้ พันให้รอบไม้แขนเสื้อ ติดด้วยกาว
  4. ตกแต่งที่คอไม้แขวนเสื้อ ด้วยการผูกโบว์เล็กๆ ผูกเข้าไป

นำไปแขวนเสื้อผ้าสวยๆได้เลยค่ะ

เห็นไหมคะ สวยน่าใช้ ถ้าใช้แล้วเปื้อน สกปรก ก็เปลี่ยนใหม่ได้ค่ะ

สำหรับร้านขายเสื้อผ้า นำไปทำเป็นไอเดีย แขวนเสื้อผ้าได้นะคะ

ทำให้เสื้อผ้า สวย ดูเด่นขึ้นค่ะ

สูตรความงาม…กับมะนาว




       สาวๆ รู้ไหมค่ะว่ามะนาวทำให้เราสวยขึ้น ก็ด้วยความเปรี้ยวเนี่ยแหละค่ะ ที่มีวิตามินซีสูง ก็เลยมีผู้คิดค้นสูตรมาพอกหน้าขัดผิวกันอย่างมากมาย เราก็เลยจะหยิบยกมารวบรวมให้คุณๆ ซะหน่อย เป็นผู้หญิงอย่าหยุดสวยค่ะ ไปดูสูตรต่างๆ กันเลยดีกว่า

       อ้อ…! ก่อนที่เราจะพอกหน้านั้น เราควรล้างหน้าให้สะอาดก่อนนะคะ เพราะว่าถ้าหากเราพอกเลย สิ่งสกปรกบนใบหน้าเราอาจจะยิ่งจับก้อนกันและทำให้เราเกิดสิวอุดตันได้นะคะ
1. สูตรหน้าใส ลดสิว (ส่วนผสม น้ำมะนาวครึ่งลูก และดินสอพอง 4-5 เม็ด หรือแล้วแต่เราต้องการนะคะ) นำดินสอพองและมะนาวมาผสมให้เข้ากัน (อย่าใส่มะนาวมากเกินไปนะคะ) จะได้ครีมที่เหนียวข้น พอกทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 นาทีก่อนเข้านอน และล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำสัปดาห์ละประมาณ 3 – 4 ครั้ง ประมาณ เดือน และหลังจากนั้นก็ลดจำนวนครั้งลงค่ะ และสูตรมะนาวกับดินสอพองนี้ ยังสามารถช่วยลดรอยจุดด่างดำที่ขาได้ด้วยค่ะ โดยให้ทาบริเวณขาทุกคืนก่อนนอน ตื่นเช้าค่อยล้างออก ทำเป็นประจำจุดด่างดำก็จะค่อยๆ หายไปค่ะ

2. สูตรแต้มสิว (ส่วนผสม น้ำมะนาว ช้อนชา และไข่ขาว ช้อนชา) ให้นำส่วนผสมทั้งสองมาผสมกันและตีจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต้มที่ตุ่มสิวทิ้งไว้ 30 นาที ล้างออกด้วยโฟมล้างหน้า สิวจะหายไปค่ะ (แต่อาจจะไม่ได้หายภายในครั้งเดียวนะคะ ต้องทำบ่อยๆ)
   
3. สูตรหน้าอ่อนวัย ใสปิ้ (ส่วนผสม น้ำมะนาว ช้อนชา และน้ำผึ้ง ช้อนโต๊ะ) นำส่วนผสมมาคนให้เข้ากัน ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 – 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำแค่อาทิตย์ละ ครั้งนะคะ

4. สูตรลดการตกกระและชะลอการเกิดรอยตีนกา (ส่วนผสม น้ำมะนาว น้ำผึ้ง แป้งหมี่ ไข่แดง) นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน นำมาพอกบนหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ทำสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง



      

 
5. สูตรหน้าขาวใสเปล่งปลั่ (ส่วนผสม มะนาว 1/2 ช้อนโต๊ะ และหัวไชเท้า 1/2 ถ้วยตวง) นำส่วนผสมมาปั่นรวมกันให้ละเอียดกลายเป็นเนื้อเดียวกัน นำไปพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น

6. สูตรกระชับรูขุมขน (ส่วนผสม น้ำมะนาว ผล น้ำอุ่นสำหรับล้างหน้า และน้ำเย็นแบบที่แช่ในตู้เย็น) ล้างหน้าให้สะอาดและล้างครั้งสุดท้ายด้วยน้ำอุ่น ใช้ผ้าซับหน้าให้แห้ง และใช้มะนาวทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น และใช้น้ำเย็นล้างหน้าอีกครั้ง

7. สุตรแก้ข้อศอก หัวเข่าดำด้าน ใช้เปลือกมะนาวที่บีบน้ำออกหมดแล้ว นำมาขัดๆ ถูๆ ผิวส่วนที่ด้านหรือแตก จะช่วยให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื้น รอยด้านหรือแตกก็จะค่อยๆ จางหายไป



     




8. สูตรมือนุ่ม (ส่วนผสม น้ำมะนาว ช้อนโต๊ะ และน้ำตาล ช้อนโต๊ะ) นำน้ำมะนาวมาผสมกับน้ำตาล เอามาถูกับมือประมาณ 10 – 15นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ เช็ดให้แห้งและตามด้วยโลชั่นสำหรับผิว

9. สูตรฟันขาวๆ เคยได้ยินมาว่า ให้เอาผ้าเช็ดหน้าจุ่มกับน้ำมะนาวและเอามาถูๆๆ ที่ฟัน ฟันเราจะขาวสวย แต่ว่ารสชาติคงจะเปรี้ยวไปทั้งปากเลยล่ะคะ


       ถ้าหากว่าพอกแล้วรู้สึกว่าแสบหน้าเหลือเกิน หน้าเริ่มแดง หรือว่าคนที่มีผิวหน้าบางมากๆ ก็ไม่ควรจะใช้มะนาวในการพอกหน้านะคะ หรือถ้าจะลองพอกก็ควรจะใช้มะนาวน้อยๆ ก่อนนะคะ


ขอบคุณที่มาทั้งหมดจาก
http://www.narizier.com/content-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E2%80%A6%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7-4-5388-91407-1.html

สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ.การศึกษา

หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรง
ชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
.
การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเรื่องการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก ระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอก
ชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง
และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ หรือมีร่างกายพิการ หรือมีความต้องการเป็นพิเศษ หรือผู้ด้อย
โอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ

- บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาทั้งภาคบังคับ และนอก
เหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว

- บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิ
ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังนี้

- การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรหรือผู้ซึ่งอยู่ใน
ความดูแล รวมทั้งเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา 



หมวด 3 ระบบการศึกษา

การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาน
ศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบ และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือ
ต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และ
ระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
ให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก หรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้า
ของการศึกษาภาคบังคับ
- สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน
1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร
ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรง
พยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด

- การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือ หน่วยงานทื่เรียกชื่ออย่างอื่น
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถาน
ประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐ
วิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษา เฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วย
งานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ 



หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา

การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3 ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้
ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ ละระดับการศึกษา ได้แก่
ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้าน
ศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา โดยเฉพาะการใช้
ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของผู้
เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความ
รู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
นอกจากนั้น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ผู้สอน จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ
และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ
กับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษาพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ ประพฤติ การสังเกตพฤติ
กรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่
หลากหลายและนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย
หลักสูตรการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ต้องมีความหลากหลาย โดยส่วน กลางจัดทำหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความเป็นไทยและความเป็นพลเมืองดี การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอด
จนเพื่อการศึกษาต่อและให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและ
สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะของสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ สำหรับ
หลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มเรื่องการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนา
องค์ความรู้และสังคมศึกษา 



หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา

ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
แบ่งเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจ
ลงไปสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มากที่สุด
1.1 ระดับชาติ

    ให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
รวมทั้ง การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากร
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีองค์กรหลักที่เป็นคณะ บุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการสี่
องค์กร คือ
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม
.
มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐ มนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่
กฎหมายกำหนด
.
ให้สำนักงานของทั้งสี่องค์กรเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการแต่ละองค์กร ประกอบด้วยกรรมการ โดย
ตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชา
ชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน มีเลขาธิการของแต่ละสำนัก
งาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
.
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม การสนับสนุนทรัพยากร การประเมินผลการจัด
การศึกษา การดำเนินการด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง
.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุน
ทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอด
คล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจ
สอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระตามกฎหมายว่าด้วยการ
จัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง
.
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับแผน
การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมิน
ผลการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติ
บุคคล ดำเนินการจัดการศึกษาและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัด
ตั้งสถานศึกษานั้น ๆ


1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
     การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอุดมศึกษาระดับต่ำ กว่าปริญญา ให้ยึดเขตพื้นที่การ
ศึกษาโดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา และจำนวนประชากรเป็นหลัก รวมทั้งความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การ
ศึกษา ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
ประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการ
จัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาน
ประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงาน
ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู และผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้
ปกครองและครู ผู้นำทางศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โดยให้ผู้อำนวยการ
สำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะ
กรรมการ

1.3 ระดับสถานศึกษา
     ให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับ ต่ำกว่าปริญญา มีคณะกรรมการสถาน
ศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาและจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่
เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทน ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น
กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกระจายอำนาจ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไป
ยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาฯ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดย
ตรง


ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทตามความพร้อม ความเหมาะสมและ
ความต้องการภายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการรองรับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการประเมินความพร้อม รวมทั้งประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษา
ได้


ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคลจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบ
ด้วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์
เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติด
ตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านวิชาการและด้านเงิน
อุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนด
นโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษา หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้
คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชน โดยให้รับฟังความคิดเห็นของเอกชน และประชาชน
ประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนสถานศึกษาของเอกชนระดับปริญญา ให้ดำเนินกิจการโดยอิสระภายใต้การ
กำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน



หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบ
การประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสา
ธารณชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี โดยสำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน
และจัดให้มีการประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ใน
กรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วย
งานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรอง
มาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป 



หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณ
ภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัดสรรงบประมาณและกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ
ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่กำหนด
มาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ

ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบ
อนุญาตประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ยกเว้น ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในศูนย์การเรียน วิทยากร
พิเศษ และผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา

ให้ข้าราชการของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการ
ในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่
เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลให้
เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะของสถานศึกษานั้น ๆ 



หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กร ปกครอง
ส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา โดยให้รัฐและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมและให้แรงจูงใจ รวมทั้งใช้มาตรการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีตามความ
เหมาะสม

สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จาก
ทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งหารายได้จากบริการของสถาน
ศึกษาที่ไม่ขัดกับภารกิจหลักอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐได้มา ทั้งจากผู้อุทิศให้หรือซื้อหรือแลก
เปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา บรรดารายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ
ของสถานศึกษาของรัฐดังกล่าว ไม่เป็นรายได้ที่ต้องส่งกระทรวงการคลัง

ให้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถนำรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ มาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายใน
การจัดการศึกษาของสถาบันนั้น ๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา โดยจัดสรรให้ผู้เรียนและสถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล กองทุนประเภทต่าง ๆ และทุนการ
ศึกษา รวมทั้งให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้จ่ายงบ
ประมาณการจัดการศึกษาด้วย 



หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รัฐจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุ
โทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒน
ธรรมตามความจำเป็น รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
สิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยจัดให้มีเงินสนับสนุนและเปิดให้มีการแข่งขัน
โดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความ
สามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ อันจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตน
เองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและ
ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการ ด้านสื่อสารมวลชขน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการ
ใช้เทคโนโลยี

ให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการ
ใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา



บทเฉพาะกาล
1. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ 
       - ให้กฏหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง ฯลฯ เกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒน  ธรรมเดิมที่ใช้อยู่ยังคงใช้บังคับ
            ได้ต่อไป จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี 
       - ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาที่มีอยู่ ยังคงมี ฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิม
           จนกว่าจะจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี          
       - ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวง เพื่อแบ่งระดับและประเภทการศึกษาของการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน
            รวมทั้งการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี 
         . 
 2. ในวาระเริ่มแรก มิให้นำ 
         - บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี และการศึกษาภาค บังคับเก้าปี 
           มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี 
           นับจากวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ และภายในหกปี ให้กระทรวงจัดให้สถานศึกษาทุกแห่ง
           มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรก 
         - นำบทบัญญัติในหมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา และหมวด 7 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ
           ศึกษามาใช้บังคับจนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี          
         - ทั้งนี้ขณะที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ออกกฎกระทรวงระเบียบ
          และประกาศเพื่อปฏิรูปตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
          รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 
          ทำหน้าที่กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี          
   
 3. ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นองค์การมหาชนเฉพาะกิจ ทำหน้าที่          
         - เสนอการจัดโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงาน ตามสาระบัญญัติในหมวดที่ว่า
           ด้วยการบริหารและการจัดการศึกษา การจัดระบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
          การจัดระบบทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา 
         - เสนอร่างกฎหมาย และปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่ง
          ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้            - ตามอำนาจหน้าที่อื่นที่กำหนดในกฎหมายองค์การมหาชน 
         . 
4. คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษามีเก้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการ 
   ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหาร
การศึกษา การบริหารรัฐกิจ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและการคลัง กฎหมายมหาชน และ
กฎหมายการศึกษา ทั้งนี้ ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิใช่ข้าราชการหรือผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่น้อย
กว่าสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการและ
เลขาธิการมีวาระการตำแหน่งวาระเดียว เป็นเวลาสามปี
ทั้งนี้ ให้มีคณะกรรมการสรรหา จำนวนสิบห้าคน ทำหน้าที่เสนอชื่อบุคคลที่สมควร เป็นคณะกรรมการบริหาร
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา จำนวนสิบแปดคนเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร
สำนักงานปฏิรูป จำนวนเก้าคน 

ขอบคุณเนื้อหาที่มาจาก - http://www.moobankru.com/knowledge1.html











อาหารยืดอายุไต


อาหารยืดอายุไต

    โรคไตแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

    ไตวายเฉียบพลัน เป็นอาการเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด กระดูก การติดเชื้อในเลือด อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนไต หรือการขาดน้ำอย่างรุนแรง
    โรคไตเรื้อรัง ไตจะเสื่อมประสิทธิภาพอย่างช้าๆ เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็ง โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน โรคทางพันธุกรรม เช่น ถุงน้ำในไต

    ผู้ที่เป็นโรคไตชนิดเฉียบพลันต้องรักษาโดยการฟอกเลือด ส่วนอาการป่วยเรื้อรังรักษาด้วยการกินยา และทั้งสองประเภทต้องควบคุมเรื่องอาหารไปพร้อมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบหรือไตเสื่อมเร็วขึ้น

กินอย่างไรเมื่อไตเสื่อม
   โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไตจะต้องควบคุมปริมาณโปรตีน ฟอสฟอรัส และโซเดียม ขณะเดียวกันจะต้องได้พลังงานเพียงพอ ผู้ที่เป็นโรคไตต้องเรียนรู้ว่าควรกินอาหารชนิดใดเพิ่มหรือควรงด

โปรตีน
   ร่างกายต้องใช้โปรตีนสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เมื่อกินโปรตีนแล้วจะเกิดของเสียที่เรียกว่า สารยูเรีย ผู้ป่วยโรคไตจะไม่สามารถขจัดยูเรียได้ตามปกติ จึงกินโปรตีนได้ประมาณวันละ 120-180 กรัม และระวังอาหารที่มีโปรตีนสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ (100 กรัมมีโปรตีนประมาณ 30 กรัม ) ปลา (100 กรัมมีโปรตีน16-30 กรัม) ไข่ (1 ฟองมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม) ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ (½ ถ้วยตวงมีโปรตีน 7 กรัม)

คาร์โบไฮเดรต
   เมื่อลดปริมาณโปรตีนลง จึงต้องได้รับพลังงานทดแทนจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเพื่อป้องกันขาดสารอาหาร โดยหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตที่มีโปรตีน ได้แก่ ซีเรียล ขนมปัง แป้งเมล็ดธัญพืช แนะนำให้กินคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่มีโปรตีน เช่น วุ้นเส้น เส้นเซี่ยงไฮ้ แผ่นแหนมเนือง เป็นต้น กรณีที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคเบาหวานควรปรึกษานักกำหนดอาหารถึงปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล

ไขมัน
   หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน น้ำมันมะพร้าว กะทิ และไขมันทรานซ์ และเลือกกินไขมันชนิดดีเพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายแทน

ฟอสฟอรัส
   ผู้ป่วยโรคไตจะขจัดฟอสฟอรัสจากเลือดได้ไม่ดี เมื่อระดับฟอสฟอรัส ในเลือดสูงขึ้นจะส่งผลกระทบให้แคลเซียมในร่างกายลดลง กระดูกจะเปราะ แตกหักง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม เช่น นม เนยแข็ง พุดดิ้ง โยเกิร์ต ไอศกรีม (อาจใช้ครีมเทียมแทนนม) เบเกอรี่ ถั่วต่างๆ และเครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำอัดลมสีเข้ม โกโก้ ช็อกโกแลต เบียร์ หากฟอสฟอรัสในเลือดสูงเกินไปแพทย์จะให้ยาที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมฟอสฟอรัสร่วมด้วย

โซเดียม
   อาหารที่มีโซเดียมมากทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ควรอ่านฉลากอาหาร เพื่อเลือกอาหารที่มีโซเดียมต่ำ โซเดียมพบมากในอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือ เช่น ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ซุปก้อน ผงชูรส น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว ซอสปรุงรส อาหารกระป๋อง ฟาสต์ฟูด อาหารหมักดอง อาหารรมควัน เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก

โพแทสเซียม
   หากมีอาการไตเสื่อมในระยะเริ่มต้นยังไม่จำเป็นต้องจำกัด โพแทสเซียมและปริมาณของเหลว แต่ไม่ควรใช้เกลือเทียมซึ่งมีโพแทสเซียมสูงและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นม แอปริคอต อะโวคาโด กล้วย ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง

วิตามินและเกลือแร่
   หลีกเลี่ยงผักหรือผลไม้ที่มีโปรตีนหรือโพแทสเซียม เช่น ผักสี เข้ม (คะน้า บร็อกโคลี่ ผักบุ้ง)

   ในภาพรวม อาหารโรคไตจะมีคาร์โบไฮเดรตและไขมันดีเพิ่มขึ้นจากปกติ เพื่อป้องกันน้ำหนักลดและป้องกันกล้ามเนื้อถูกใช้เป็นพลังงาน ส่วนปริมาณอาหารในแต่ละหมวดต้องกินมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับสภาวะของไตที่เปลี่ยนไป

ขอบคุณข้อมูลจาก healthandcuisine.com และ http://health.giggog.com/114104

อัญชันดอกไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณ


     

อัญชํญดอกไม้ที่มากไปด้วยสรรพคุณ
          อัญชัน ดอกไม้สีสันอมม่วง ที่เป็นพวงชูช่อ ดูแล้วสวยงาม แต่คุณรู้ไหมว่า อัญชัน มีประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้ จะมาบอกเคล็ดลับนี้ไปใช้กันค่ะ
           ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทน
           น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว
           น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม
           สีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย
           ดอกอัญชัน กินเป็นผักได้ ทั้ง จิ้มน้ำพริกสดๆ หรือชุบแป้งทอด


  ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากดอก อัญชัน มีหลายประการดังนี้
             เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
             ใช้เป็นสีผสมอาหาร โดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
             สารแอนโธไซยานิน มีอยู่มากในดอกอัญชัน มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากสารตัวนี้ จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆเช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้นเพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้นในขณะนี้ ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับ ความสามารถของแอนโธไซยานินในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
 น้ำดอกอัญชัน 
ส่วนผสม
น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย
น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำ ผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ

  วิธีทำน้ำดอกอัญชัน
นำดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อ
เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที
แล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อต้ม

  วิธีทำน้ำเชื่อม
น้ำเปล่า 500 กรัม, น้ำตาลทราย 500 กรัม
นำ น้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ

  อีกวิธีหนึ่ง
นำดอกอัญชันตากแห้งประมาณ 25 ดอก
ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มแทนชา
      อย่าลืมนำเคล็ดลับดอกอัญชัญไปลองทำ ลองทาน กันนะค่ะ ทั้งขนม เครื่องดื่ม หรือว่ากินเป็นผัก จะได้มีผมสวย ห่างไกลโรค สวยสุขภาพดีกันถ้วนหน้า
เรียบเรียงโดย GigGog.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาำก doctor.or.th และ muslimthai.com

ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่(Robert Gange)


ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่ (Robert Gange)



แบบการเรียนรู้ของกาเย่
          กาเ่ย่ (Gagne) ได้เสนอหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นำทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันในลักษณะของการจัดลำดับการเรียนรู้ดังนี้
          1. การเรียนรู้แบบสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เกิดจากความไกล้ชิดของสิ่งเร้าและการกระทำซ้ำผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
         2. การเรียนรู้แบบการตอบสนอง (S-R Learning) คือการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมนั้นได้การตอบสนองเป็นผลจากการเสริมแรงกับโอกาสการกระทำซ้ำ หรือฝึกฝน
          3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่ (Chaining Learning) คือการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองติดต่อกันเป็นกิจกรรมต่อเนื่องโดยเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่นการขับรถ การใช้เครื่องมือ
      4.   การเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์ (Verbol Association Learning) มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญญลักษณ์แทน
         5. การเรียนรู้แบบการจำแนก (Discrimination Learning) ได้แก่การเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่าง สามารถเลือกตอบสนองได้
         6. การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) ได้แก่การเรียนรู้อันเนื่องมาจากความสามารถในการตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่เป็นส่วนรวมของสิ่งนั้น เช่นวงกลมประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อยที่เกี่ยวกับ ส่วนโค้ง ระยะทาง ศูนย์กลาง เป็นต้น
         7. การเรียนรู้กฏ (Principle Learning) เกิดจากความสามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ เข้าด้วยกันสามารถนำไปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ได้
         8. การเรียนรู้แบบปัญหา (Problem Solving) ได้แก่ การเรียนรู้ในระดับที่ ผู้เรียนสามารถรวมกฎเกณฑ์ รู้จักการแสวงหาความรู้ รู้จักสร้างสรรค์ นำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จากลำดับการเรียนรู้นี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเรียนรู้แบบต้นๆ จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ระดับสูง

 
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
           ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน ได้ ในลักษณะต่างๆ เช่น การจัดสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน การจูงใจ การรับรู้ การเสริมแรง การถ่ายโยงการเรียนรู้ ฯลฯ
           การจัดสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ
           1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง เช่นการให้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติ ประกอบกิจกรรม และเสาะแสวงหาความรู้เอง ไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจสูงขึ้นเท่านั้น แต่ ยังทำให้ผู้เรียนต้องตั้งใจสังเกตและติดตามด้วยการสังเกต คิด และใคร่ครวญตาม ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มพูนความรู้
         2. ให้ทราบผลย้อมกลับทันที เมื่อให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติหรือตัดสินใจทำอะไรลงไป ก็จะมีผลสะท้อนกลับให้ทราบว่านักเรียนตัดสินใจถูกหรือผิด โดยทันท่วงที
          3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ โดยใช้การเสริมแรง เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือถูกต้อง ก็จะมีรางวัลให้ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
          4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น ต้องให้ผู้เรียนต้องเรียนทีละน้อยตามลำดับขั้นที่พอเหมาะกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน และเกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงถาวรขึ้น

หลักการสอน 9 ประการของกาเย่

1.เร่งเร้าความสนใจ  (Gain Attention)ก่อนนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของการเรียนและทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอ
ความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน เช่น การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนควรนำเสนอภาพประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย ได้ใจความ
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดีหากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด
ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาและร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านเพียงอย่างเดียว
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) บทเรียนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบความรู้หลังจากศึกษาบทเรียน
(Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง
9. สรุปและนำไปใช้(Review and Transfer) การสรุปและนำไปใช้รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว 

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่ 

แม้กาเย่ จะมิใช่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยมโดยตรง แต่ผลงานของเขาส่วนใหญ่ได้เน้นให้เห็นถึงความเชื่อและแนวคิดของกลุ่มพุทธินิยม กาเย่ใช้โมเดลการเรียนรู้สะสมเป็นตัวอธิบายความเจริญทางสติปัญญาและพัฒนาการของความสามารถใหม่ ๆ ที่มีผลมาจากการเรียนรู้

จากทัศนะของกาเย่ เด็กพัฒนาเนื่องจากว่า เขาได้เรียนรู้กฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ พฤติกรรมที่อาศัยกฎที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเพราะเด็กได้มีกฎง่าย ๆ ที่จำเป็นมาก่อน ในระยะเริ่มแรกเด็กจะได้รับนิสัยง่าย ๆ ที่ช่วยทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งกลไกพื้นฐาน และการตอบสนองทางคำพูด ต่อมาก็จะเป็นการจำแนกความคิดรวบยอดเป็นกฎง่าย ๆ และในที่สุดก็จะเป็นกฎที่ซับซ้อน

การพัฒนาทางสติปัญญา จึงได้แก่การสร้างความสามารถในการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ระยะหรือขั้นของการพัฒนาการดูเหมือนว่าจะสัมพันธ์กับอายุของเด็ก เนื่องจากการเรียนรู้ต้องใช้เวลา มีข้อจำกัดทางสังคมเป็นตัวกำหนด หรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอัตราความเร็วในการให้ความรู้และข่าวสารแก่เด็ก สำหรับกาเย่แล้ว ความสามารถในการเรียนรู้อาจต้องรอการฝึกฝนที่เหมาะสม

การถ่ายทอดในแนวตั้งและแนวนอน

กาเย่ได้แบ่งวิธีการที่ประสบการณ์เดิมถ่ายโอนผลของมันไปสู่พฤติกรรมในอนาคตเป็น 2 วิธี
  1. การถ่ายโอนในแนวนอน ซึ่งได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ของเนื้อหาที่เรียนรู้จากสาขาหนึ่งกับวิธีการใหม่ ๆ ที่ใช้กับสาระในสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน ยกตัวอย่างเช่น นักปรัชญาที่คุ้นเคยกับการนำไปสู่ความไม่มีเหตุผล (Reduction to Absurdity) ในลักษณะที่เป็นสื่อในการพิสูจน์ข้อความต่าง ๆ (ว่าไม่ถูกต้อง) สามารถที่จะนำความรู้นี้ไปใช้กับการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่เขาเผชิญได้
  2. การถ่ายโอนในแนวตั้ง ได้แก่ การเรียนความรู้บางอย่างมาก่อนที่มีความจำเป็นต่อการเรียนความรู้อื่นๆ ในสาขาวิชาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น การจะเรียนการคูณโดยไม่มีความรู้ในเรื่องการบวกมาก่อนจะยากมาก
กาเย่ มีความเชื่อว่าความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์มี 5 ด้าน คือ

1) ลักษณะด้านสติปัญญา (Intellectual Skills) ประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ประการคือ
  1. การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน
  2. การสร้างความคิดรวบยอด (Concepts) หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ โดยระบุคุณสมบัติร่วมกันของวัตถุหรือสิ่งนั้น ๆ แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย ๆ คือ
    o ความคิดรวบยอดระดับรูปธรรม (concrete Concerpts)
    o ความคิดรวบยอดระดับนามธรรมที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ (Defined Concepts)
  3. การสร้างกฎ (Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำความคิดรวบยอดต่าง ๆ มารวมเป็นกลุ่ม ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
  4. การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง (Procedures of Higher Order Rules) หมายถึง ความสามารถในการนำกฎหลาย ๆ ข้อที่สัมพันธ์กันมาประมวลเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
2) กลยุทธ์ทางความคิด (Cognitive Strategies) หมายถึง กระบวนการที่มนุษย์ใช้ในการช่วยให้ตนได้รับข้อมูลและจัดกระทำกับข้อมูลจนเกิดการเรียนรู้ตามที่ตนต้องการ ประกอบด้วย
- กลวิธีเกี่ยวกับการใส่ใจ (Attending)
- กลวิธีเกี่ยวกับการทำความเข้าใจความคิดรวบยอด (Encoding)
- กลวิธีเกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ (Retrieval)
- กลวิธีเกี่ยวกับการแก้ปัญหา (Problem Solving)
- กลวิธีเกี่ยวกับการคิด (Thinking)

3) ข่าวสารจากคำพูด (Verbal Information)
- คำพูดที่เป็นชื่อของสิ่งต่าง ๆ (Names or Labels)
- คำพูดที่เป็นข้อความ/ข้อเท็จจริง (Facts)

4) ทักษะทางกลไก (Motor Skills)
5) เจตคติ (Attitudes)

กาเย่ มีความเชื่อต่อไปอีกว่า การเรียนรู้และความจำที่เกิดขึ้นในโครงสร้างของสมองมนุษย์เปรียบเทียบได้หรืออธิบายได้โดยทฤษฎีการจัดระบบข้อมูล (Information-Processing Theories) กล่าวคือ เมื่อเราได้รับข้อมูลจากภายนอก สมองของเราก็จะรับรู้และบันทึกเอาไว้ บางเรื่องก็เก็บเอาไว้ในความทรงจำระยะสั้น ถ้าเรื่องนั้น ๆ มีความสำคัญสมองก็จะบันทึกไว้ในความทรงจำระยะยาว เปรียบเสมือนส่วนที่เก็บบันทึกข้อมูลของเครื่องสมองกล เมื่อถึงคราวที่จะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ สมองก็จะส่งข้อมูลออกมาในรูปของความจำ หรือการระลึกได้ แล้วนำข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้ตามที่ต้องการ

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน 

ความคิดของกาเย่ในเรื่องนี้มีแนวปฏิบัติโดยตรงต่อการศึกษาในโรงเรียนหลายประการ การศึกษาในโรงเรียนไม่เพียงแต่จะสามารถทำให้เกิดผลด้านอัตราการพัฒนาสติปัญญาเท่านั้น แต่จะต้องแสดงบทบาทที่สร้างอิทธิพลในเรื่องนี้อย่างชัดเจน หมายความว่า เด็ก ๆ จะต้องพัฒนาให้เร็วที่สุดทันทีที่เราสามารถสอนเขาได้

จากรูปแบบการเรียนรู้สะสมของกาเย่ ความพร้อมในการเรียนของนักเรียนมิได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในทางชีววิทยาเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดให้งานด้านทักษะมีความเหมาะสม และนิสัยที่จำเป็นสำหรับการเรียนทักษะใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนมากขึ้นตามที่เราต้องการจะพัฒนา นอกจากนี้ถ้าเด็กไม่สามารถจะเรียนรู้ทักษะเฉพาะบางอย่าง เช่น การอ่าน ก็จะมีการกำหนดให้ครูตรวจสอบขั้นตอนย้อนหลัง เพื่อหาสิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้มาก่อนการเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นแล้วเริ่มสอนอ่านใหม่

วิธีของกาเย่อาจจะขัดกับแบบรูปของเพียเจต์ ซึ่งครูมีหน้าที่คอยดูว่าเด็กมีความสามารถทางด้านใดเมื่อไร แล้วเตรียมการให้เด็กได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถของเขาในแต่ละระยะ และนำไปสู่พัฒนาการที่สูงขึ้นในทางการใช้ความคิดและสติปัญญา ตามนัยของกาเย่ครูสามารถสอนการคงที่ของปริมาณ (Conservation) หรือการอ่าน หรือนามธรรมที่ต้องใช้ความคิด โดยการกำหนดลำดับขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก


ข้อมูล -http://www.slideshare.net/moddang2525/8-14218888

ดาวน์โหลดทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่(Robert Gange) download

ที่มา


ระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown and Others)

                      รูปแบบระบบการสอน

                                                    


  ระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown and Others)

         ระบบการสอนของบราวน์และคณะเป็นระบบการสอนที่จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน โดยการพิจารณาถึงแนวทางและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อที่ผู้สอนจะได้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยมีขั้นตอนดังนี้ี้
                       " จุดมุ่งหมาย (Goals) ในการเรียนการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะต้องการให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้สอนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ "


                     1. วัตถุประสงค์และเนื้อหา (Objectives and Content) เป็นสิ่งแรกที่ผู้สอนต้องกำหนดให้แน่นอนว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วผู้เรียนจะบรรลุถึงวัตถุประสงค์อะไรบ้าง ซึ่งจะต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้
" สภาพการณ์ (Conditions) ผู้สอนควรจัดสภาพการณ์อย่างไรและควรมีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนอย่างได้ผลดีเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ในการนี้ต้องมีการเลือกประสบการณ์ที่เหมาะสมกับ ผู้เรียน โดยเน้นถึงสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อการจัดรูปแบบหรือวิธีการเรียนที่เหมาะสม

                      2. การจัดประสบการณ์การเรียน (Learning Experiences) เป็นการจัดประสบการณ์ในรูปลักษณะกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ ในขั้นนี้ผู้สอนจึงต้องเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับผู้เรียนแต่ละคน ประสบการณ์ที่นำไปสู่การเรียนรู้แบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ เช่น การฝึกให้คิด การอภิปราย การเขียน การอ่าน การฟัง ฯลฯ

                      3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอน (Teaching - Learning Modes) เป็นการจัดเพื่อให้ผู้เรียนสามารถได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุด การจัดนี้ต้องคำนึงถึงขนาดของผู้เรียน วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้อหาบทเรียนด้วย การจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถจัดทำได้โดยการจัดห้องตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน โดยถ้าเป็นผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ผู้สอนมักใช้วิธีการบรรยายในห้องเรียนใหญ่ ถ้ากลุ่มผู้เรียนมีขนาดกลางหรือกลุ่มเล็กก็ใช้การบรรยายโดยมีการซักถามโต้ตอบกัน และควรมีการใช้สื่อการสอนร่วมด้วย แต่ถ้ามีผู้เรียนเพียงคนเดียวจะใช้การศึกษารายบุคคลในลักษณะของการใช้สื่อประสม
" ทรัพยากรหรือแหล่งวิชาการ (Resources) ผู้สอนควรจะต้องทราบว่ามีแหล่งทรัพยากรหรือแหล่งวิชาการใดบ้างที่จำเป็นและสามารถนำมาใช้เพื่อการจัดประสบการณ์แก่ผู้เรียน ทรัพยากรนี้หมายถึงทางด้านบุคลากร การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมในการสอน ตลอดจนการจัด สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกายภาพในการเรียนการสอนด้วย

                      4. บุคลากร (Personal) ในกระบวนการของการจัดระบบการสอนนั้น บุคลากรมิได้หมายเฉพาะเพียง ผู้สอนหรือผู้เรียนเท่านั้น แต่จะหมายรวมถึงบุคคลทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น "ผู้สอน" จึงหมายถึงครูหรือวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียน ผู้สอนจะต้องมีบทบาทในการใช้สื่อการสอน เป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน เป็นผู้นำการอภิปราย แนะนำสิ่งต่าง ๆ ตลอดแก้ไขปัญหาแก่ผู้เรียน และต้องมีสัมพันธ์กับผู้สอนคนอื่น ๆ เพื่อปรึกษาหรือวางแผนการสอนและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเรียนการสอน เพื่อการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ส่วนบทบาทของ "ผู้เรียน" นั้น อาจเป็นผู้ช่วยในการตั้งจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน การเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ การใช้สื่อ ตลอดจนการวัดและประเมินการเรียนการสอนด้วย

                      5. วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ (Materials and Equipment) ในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการสอนนั้น ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

               1. ความเหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
               2. การใช้สื่อเพื่อสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
               3. ความเหมาะสมของชนิดของสื่อกับกิจกรรมการเรียนการสอน
               4. สื่อนั้นสามารถหาได้ในแหล่งวิชาการหรือในท้องถิ่นนั้น
               5. ความสะดวกในการใช้
           
                      6. สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกายภาพ (Physical Facilities) หมายถึงการจัดสภาพห้องเรียนตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้การจัดสภาพการณ์ในการเรียนรู้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม ตลอดจนการจัดวัสดุ อุปกรณ์และสื่อการสอนเพื่อความสะดวกในการใช้ด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกและสถานที่เหล่านี้ ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องสื่อการศึกษา และห้องนันทนาการ เป็นต้น
" ผลลัพธ์ (Outcomes) เป็นการพิจารณาดูว่าผลลัพธ์ที่ได้มาสำเร็จตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด มีสิ่งใดบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้หมายถึงการประเมินและการพิจารณาเพื่อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการสอนให้ดีขึ้น


ดาวน์โหลดระบบการสอนของบราวน์และคณะ (Brown and Others) download
http://www.mediafire.com/view/?ldm09i2prw0sbtg(ppt.)

ที่มา
-http://student.nu.ac.th/techno/system1.html
 
                  

ประวัติความเป็นมาของ"ภาษาซี (C)"

ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ที่มีวัตถุประสงค์ทั่วไป พัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) โดย เดนนิส ริตชี ที่เบลล์เทเลโฟนแลบอลาทอรีส์ (Bell Telephone Laboratories) เกิดขึ้นเพื่อสร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ในขณะนั้น
นอกจากภาษาซีออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ระบบแล้ว ภาษาซียังสามารถใช้อย่างแพร่หลายเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เคลื่อนย้าย (portable) ไปบนระบบอื่นได้อีกด้วย
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดกาล มีสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่มีตัวแปลโปรแกรมของภาษาซี ภาษาซีมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาษาโปรแกรมที่นิยมอื่น ๆ ที่เด่นชัดที่สุดก็คือภาษาซีพลัสพลัส ซึ่งเดิมเป็นส่วนขยายของภาษาซี
           ภาษาซีเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1972 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Labs โดยภาษาซีนั้นพัฒนามาจาก ภาษา B และจากภาษา BCPL
ซึ่งในช่วงแรกนั้นภาษาซีถูกออกแบบให้ใช้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมในระบบ UNIX และเริ่มมีคนสนใจมากขึ้นในปี ค.ศ.1978 เมื่อ Brain Kernighan ร่วมกับ Dennis Ritchie พัฒนามาตรฐานของภาษาซีขึ้นมา คือ K&R (Kernighan & Ritchie) และทั้งสองยังได้แต่งหนังสือชื่อว่า “The C Programming Language” โดยภาษาซีนั้นสามารถจะปรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆได้
ต่อ มาในช่วง ปี ค.ศ.1988 Ritchie และ Kernighan ได้ร่วมกับ    ANSI (American National Standards Institute) สร้างเป็นมาตรฐานของภาษาซีขึ้นมาใหม่มีชื่อว่า “ANSI C

Dennis Ritchie

ภาษาซีนั้นจัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียน โปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษาซีจัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นมาก กล่าวคือ สามารถทำงาน กับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆได้ เช่น สามารถเขียนโปรแกรมที่มีความยาวหลายบรรทัดให้เหลือความยาว 2-3 บรรทัดได้ โดยมีการผลการทำงานที่เหมือนเดิมครับ

ภาษาซี (C programming language)
เป็นภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้างระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดย เคน ธอมป์สัน (Ken Thompson) และ เดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie)   ขณะทำงานอยู่ที่ เบลล์เทเลโฟน เลบอราทอรี่ สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ต่อมาภายหลังได้ถูกนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ และกลายเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ภาษาซีมีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากมีความสามารถใกล้เคียงกับภาษาระดับต่ำ แต่เขียนแบบภาษาระดับสูง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยภาษาซีจึงทำงานได้รวดเร็ว ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการ,ซอฟต์แวร์ระบบ,ควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ และเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

Ken Thompson

ชนิดข้อมูลพื้นฐานของภาษาซี

ในการเขียนโปรแกรมภาษาซีนั้น เราจำเป็นต้องมีการกำหนดชนิดข้อมูล ก่อนการประกาศตัวแปรเสมอ การกำหนดชนิดข้อมูลแต่ละอันก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ว่าเราจะใช้ตัวแปรนั้นเก็บค่าอะไร แบบไหน เช่น เก็บเป็นเลขจำนวนเต็ม เก็บเป็นเลขจำนวนจริง หรือเก็บเป็นตัวอักษร
char มีขนาด 1 byte ค่าที่เก็บคือ ตัวอักษร ASCII 1 ตัว ตั้งแต่ 0 ถึง 255
int มีขนาด 2 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 32767 ถึง –32768
short มีขนาด 2 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 32767 ถึง –32768
long มีขนาด 4 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 2147483647 ถึง –2147483648
unsigned 
unsigned int มีขนาด 2 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 65535
unsigned short มีขนาด 2 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 65535
unsigned long มีขนาด 4 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนเต็มตั้งแต่ 0 ถึง 4294967295
float มีขนาด 4 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนจริง ตั้งแต่ 3.4×10^-38 ถึง 3.4×10^38
double มีขนาด 8 byte ค่าที่เก็บคือ ค่าจำนวนจริง ตั้งแต่ 1.7×10^-308 ถึง 1.7×10^308
จากข้อมูลดังกล่าวเมื่อนำมาจัดเป็นกลุ่มจะได้ดังนี้
1. จำนวนเต็ม ได้แก่ข้อมูลชนิด int, short, long, unsigned int, unsigned short และ unsigned long
2. จำนวนจริง คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนจริง ที่มีทศนิยม หรืออยู่ในรูปของนิพจน์วิทยาศาสตร์ ได้ แก่ข้อมูลชนิด float และ double
3. ตัวอักขระและสตริง (String) ได้แก่ข้อมูลชนิด char ซึ่งเก็บข้อมูลได้ 1 อักขระ และข้อมูลที่เป็นชุดของข้อมูล char (Array of char) ที่ใช้เก็บค่าสตริง

ดาวน์โหลดข้อมูลภาษาซี download
-http://www.mediafire.com/view/?7ge1cyol77485bp

ดาวน์โหลดโปรแกรมภาษาซี download
-http://www.mediafire.com/?ak7g9bt3epg9dtv


ที่มา